ตอนที่ 7 (ต่อ2) ใช้บัตรเครดิตอย่างคนฉลาดใช้

ตอนที่ 7 นี้ท่าทางผมจะร่ายยาวไปหน่อยดูสิ….กลายเป็นตอนต่อ2 ไปซะแล้ว งั้นคราวนี้จะเอาน้ำน้อยหน่อยพอคลุกคลิกและเน้นที่เนื้อๆ ดีกว่านะครับท่านผู้อ่าน คราวที่แล้วผมเกริ่นไว้ว่าวันนี้เราจะมารู้วิธีการคำนวณระดับความพอดีของการใช้บัตรเครดิตและหลุมพลางของบัตรเครดิตคืออะไร ผมว่าถึงเรื่องหลุมพรางก่อนเลยดีกว่า

หลุมพรางของบัตรเครดิตที่สำคัญในมุมมองของผมนายเก่งเงินมี 2 เรื่องครับคือ

1. รูดปรื้น……..แล้วจ่ายที่หลัง

การรูดไปก่อนเนี่ยละครับตัวดี ถ้าท่านไหนเป็นเจ้าระเบียบหน่อยเน้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตัวเองทุกวันประเด็นนี้จะไม่มีผลมากนะเพราคุณจะเป็นว่าวันนี้จ่ายอะไรไปทำไร และอยู่ในความสามารถที่จะจ่ายได้อยู่หรือเปล่า แต่ผมเชื่อ! มั่นเกินกว่า 80% ของคนที่ถือบัตรเครดิตไม่ค่อยได้สนใจว่าตัวเองรูดค่าอะไรไปบ้างจะมาดูอีกทีก็ตอนที่มีบิลมาเรียกเก็บเงินแล้วเนี่ยสิครับ ไอ้ตอนอ่านบิลนี่สิครับที่ทำให้หลายอุทาน เฮ้ย….ใช้อะไรขนาดเนี้ย “_ _    และความเศร้าก็เริ่มมาเยือน

2. วงเงินที่ให้……ซึ่งทางผู้ออกบัตรมักจะให้ตั้งแต่ 3 ถึง 5 เท่าของเงินเดือน

ผมเรียกตัวนี้ว่าตัวคูณที่ทำให้ความหลงระเริงในข้อแรงทวีคูณตามวงเงินที่ได้ถ้าได้ 5 เท่าความหลงระเริงก็ 5 เท่าด้วยเพราะตอนรูดไม่ได้สนใจ บางท่านจะรู้อีกที่ก็ตอนที่เจ้าหน้าที่ร้านค้าบอกว่ารูดไม่ได้บัตรเต็ม….อันนี้ทั้งหน้าแตกและลางร้ายเริ่มมาเยือนแล้วสำหรับหลายท่านที่ใช้แบบรูดปรื้น รูดปรื้น

 

 

แล้วความพอดีของการใช้บัตรเครดิตล่ะอยู่ไหนล่ะ……

ต้องถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลหลักของผมเลยคือ Website ของ tsi ในบทความเรื่องการจัดการหนี้บัตรเครดิต ทาง tsi แนะนำให้ใช้อยู่ที 15-20% ของวงเงินที่ได้ ตัวอย่างเช่น

วงเงินบัตรที่ได้เท่ากับ 100,000 บาท ก็ใช้บัตรรูดซื้อของไม่ควรเกิน 15,000-20,000 บาท หรือถ้าเราคำนวณย้อนกลับไปที่เงินเดือนของคนที่ได้วงเงิน 100,000 บาท น่าจะอยู่ที่ 2-3 หมื่นบาท หรือเท่ากับการใช้เงินเดือนไปถึง ¾ หรือเงินเดือนทั้งหมดเลยที่เดียว

งั้นทางที่ดีเราใช้ไม่เกิน 10% ของวงเงินน่าจะ Play safe กว่านะครับและที่สำคัญมากๆ คือการจดบันทึกรายจ่ายในแต่ละวันอันนี้จะช่วยผมได้ดีมากๆ เลยนะครับ แต่สำหรับคนที่ขี้เกียจไว้พรุ่งนี้ผมมีตัวช่วยมาแนะนำครับว่าจะทำยังไงดี ^ ^