ราคา Gold Futures คือราคาทองคำอนาคตจริงหรือ? ตอนที่ 2

Gold Futures มีข้อกำหนดหลักๆ คือ เขาเป็นสัญญาจะซื้อ/จะขายทองคำ โดย 1 สัญญาจะเท่ากับ 10 บาททองคำ หรือ 50 บาททองคำ โดยการซื้อใช้เงินประมาณ 10% ของมูลค่าจริงหรือตามแต่ประกาศของ TFEX ซึ่งขึ้นอยู่กับความผันผวนของราคาทองคำในตลาด ณ ขณะนั้นๆ

ข้อดีของการซื้อ Gold Future

  1. ต้นทุนการจัดการที่ต่ำกว่า

การซื้อ Gold future แต่ละครั้งจะมีค่าคอมมิชชั่นขั้นต้น 450 บาท + Vat 7% หรือ 481.50 บาท หรือปัดเป็นตัวเลขกลมๆ ก็ 500 บาท ดังนั้นต้นทุนในการซื้อและขาย Gold future contract  ไปกลับ 1 รอบจะมีต้นทุนการจัดการประมาณ 1,000 บาท ในขณะที่ส่วนต่างของราคาซื้อขายทองคำแท่ง 10 บาทตามหน้าร้านขายทองอยู่ที่ 1,000 บาท เช่น ณ วันที่ 14 ตุลาคม ราคาขายทองคำแทงอยู่ที่บาทละ 24,500 บาทในขณะที่ราคารับซื้อคืนอยู่ที่ 24,400 บาท มีส่วนต่าง(หรือต้นทุนเกิดขึ้น) 100 บาทต่อ 1 บาททองคำ แต่ถ้าซื้อกันที่ 50 บาททองคำต้นทุนส่วนต่างของการซื้อทองจริงจะเท่ากับ 5,000 บาทหรือแพงกว่าซื้อ Gold Future contract ถึง 5 เท่าที่เดียว

นั่นแสดงว่าถ้าคุณซื้อ Contract ครั้งละ 50 บาททองคำ คุณจะสามารถประหยัดต้นทุนส่วนต่างไปได้ถึง 4,000 บาทที่เดียวแล้วถ้าครั้งหนึ่งคุณซื้อมากกว่ากว่า 1 Contract นั่นก็ยิ่งหมายความว่าคุณสามารถประหยัดส่วนต่างตรงนี้ลงไปได้อีกเพราะค่าจัดคิดเป็นไป/กลับ 1 ครั้งที่ทำการซื้อขาย ไม่สนใจว่าจะซื้อที่กี่ Contract

2. คุณสามารถทำกำไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง

ในช่วงตลาดขาขึ้นอันนี้คงเข้าใจได้ไมยากนักก็เป็นการซื้อถูกขายแพงนั่นเอง ส่วนตลาดขาลงหรือเราคาดการณ์ว่ามูลค่าในอนาคตของทองคำนั้นจะลดลงเราก็สามารถทำการขายออกไปก่อนที่ราคาแพงแล้วค่อยซื้อมาใช้คืนตอนที่ราคาถูกลงในอนาคตนั่นเอง ภาพอย่างหลังคงจะเห็นได้ชัดมาขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาของทองคำที่มีราคาตกลงอยากรวดเร็วซึ่งก็มีหลายคนที่สามารถทำกำไรจากการลงของราคาทองคำได้ แต่อีกหลายคนก็ขาดทุนกันไม่น้อยที่เดียวเพราะในตลาดนี้เป็นแบบ Zero Sum Game ครับนั่นคือมีคนหนึ่งได้ก็ต้องมีอีกคนหนึ่งที่เสีย

3. สัดส่วนกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นมากเป็น 10 เท่าตัวของเงินลงทุน

ด้วยลักษณะของการซื้อขายแบบ Margin คือลงเงินแค่ 10% ของเงินที่ต้องจ่ายจริงเท่านั้น ทำให้การได้กำไรต่อครั้งเมื่อเทียบกับเงินที่ลงไปแล้วนั้นมันดูมากมายทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันเมื่อขาดทุนมันก็ไม่น้อยเช่นอันกัน อันนี้ต้องพึ่งตระหนักให้มากนะครับอย่ามองแต่ด้านได้เพียงอย่างเดียว

 

ผมว่าหลายๆ ท่านที่กำลังติดตามและอ่านบทความของผมอยู่นั้น ถ้าคิดจะลงทุนใน Gold Futures ผมคิดว่าเราๆ ท่านๆ จะอยู่ในค่ายเดียวกันคือเป็นนักเก็งกำไร มากกว่า ดังนั้นผมแนะนำให้แต่ละท่านศึกษารายละเอียดให้ดีๆเพราะแตกต่างจากการลงทุนในทองคำจริงหลายอย่างครับ และเหมาะกับการทำกำไรระยะสั้นดังนั้นจึงต้องคอยติดตามราคาโดยตลอด และยังมีคำศัพท์ทางเทคนิคอยู่หลายตัวที่เดียวที่ท่านๆ ควรจะรู้ไว้เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ตัวอย่างเข่น

Long คือการทำสัญญาว่าจะซื้อ

Short คือการทำสัญญาว่าจะขาย

Cash Settlement รอชำระราคาและส่งมอบใน ส่วนต่างของมูลค่าเมื่อสัญญาครบกำหนด

Margin คำนี้สำคัญมากๆในการลงทุนในลักษณะนี้ Margin คือการวางเงินประกันในวันที่ตกลงจะซื้อขาย  แบ่งได้เป็น

IM (Initial Margin) เป็นการเรียกเก็บเงินประกันเริ่มแรกเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นคือเพียง 10 % ซึ่งผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับกำไร หรือขาดทุนเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับเงินประกันที่วางไว้ โดย Gold Futures กำหนดให้วางเงิน IM ที่ 104,500 บาทสำหรับ 50 บาทองคำ แต่เงินเท่านี้ยังไม่สามารถเทรดได้นะครับ ยังมีค่าคอมมิชชั่นอีก 450บาท +ภาษีอีก 7% เท่ากับต้องมีการวางเงิน รวมกันทั้งสิ้น 104,981.50 บาท ถึงจะทำการจะซื้อหรือจะขายทองคำได้ 1 สัญญานะครับ( 1 สัญญาเทียบกับทองคำน้ำหนัก 50 บาท)

MM (Maintenance Margin) คือหลักประกันรักษาสภาพ แปลง่ายๆคือ เราต้องรักษาระดับเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 70 %    ตัวอย่างการคำนวณ คือเงิน IM 104,500บาทx70% = 73,150 บาท

ถ้าเงินในบัญชีต่ำกว่านี้เมื่อไหร่ ต้องหาเงินมาเติมให้เต็ม 73,150 บาท ทุกครั้ง โดยทุกวันจะมีการ (Mark to Market)คือเช็คยอดเงินในบัญชีตอนเย็นของทุกวันว่าลดลงมาต่ำกว่า MM หรือยังถ้าถึงก็จะมีเจ้าหน้าที่โทรมาตาม ให้เราเติมเงินภายในวันรุ่งขึ้น(T+1)ก่อน 15.55 น.คือก่อนปิดตลาด 1 ชม.พอดีครับ จึงอยากแนะนำให้เปิดบัญชีไว้มากกว่าที่ต้องซื้อ Contract หน่อย เพราะเวลาตลาดผันผวนหากเงินลดลงต่ำกว่า I M แค่นิดเดียว ก็จำเป็นต้องโอนเงินเข้ามาให้เต็มตามระเบียบแม้ว่าจะมีการดีดกลับของราคาในเวลาต่อมาก็ตามครับ

FC (Force Close) คือกรณีที่เงินหลักประกันลดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 30 % ตัวอย่างการคำนวณคือเงิน IM 104,500บาทx30% = 31,350 บาท กรณีนี้ Broker มีสิทธิปิดสถานะ(ซื้อหรือขาย)ของท่าน เพื่อหยุดผลขาดทุนให้ลูกค้าได้ทันที หรือ ให้เวลาลูกค้าเติมเงินเข้ามาภายในเวลา 1 ชม.

เอาละครับแค่คงจะเริ่มเครียดๆ กันแล้วเอาไว้เรามาอ่านกันต่อคราวหน้าดีกว่านะครับ

Gold Future ทองในอนาคต?? ตอนที่ 1


            ในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมาราคาทองคำในตลาดโลกต้องเรียกว่าผันผวนกันสุดๆ จนทำให้ TFEX ต้องมีการประกาศปรับราคาหลักประกันของสัญญาทองคำเพิ่มขึ้นถึง 2 ครั้งด้วยกันโดยมีราคาล่าสุดที่

GOLD Futures (50 บาท) เพิ่มหลักประกันจาก 92,150 บาท เป็น 104,500 บาท

GOLD Futures (10 บาท) เพิ่มหลักประกันจาก 18,430 บาท เป็น 20,900 บาท

ซึ่งตอนนี้หลายๆ สำนักวิเคราะห์บอกได้เพียงอย่างเดียวว่าเดาทางกันยากมากๆ และถ้าจะลงทุนใน gold future ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดสุดๆ เพราะโอกาสกำไรและขาดทุนมากพอๆ กันทีเดียว แต่ยังไงก็ต้องมาแนะนำกันตามสัญญาที่ได้ให้กันไว้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมางานประจำที่ทำอยู่มีเรื่องเข้ามามากมายซะเหลือเกิน จนทำให้ขาดเวลาที่จะมา Update บทความให้ได้อ่านกันแต่ก็อยากเพิ่งหนีหน้ากันไปซะก่อนละครับ เอาล่ะมาเข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่า

ราคา Gold Futures คือราคาทองคำอนาคตจริงหรือ?

ต้องบอกว่าไม่เชิงครับ ผมอยากบอกที่มาที่ไปของลักษณะ Future Contract ก่อนเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น Future contract จุดกำเนิดของเขาคือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปของราคาสินค้าที่เราต้องการจะซื้อในอนาคต ผมลองยกตัวอย่างให้อ่านกันเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น

สมมุติว่าตอนนี้ผมเป็นเจ้าของโรงงานผลิตจิวเวลรี่ที่ต้องใช้ทองคำเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่ง ณ วันนี้ผมได้ไปเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าอย่าง Walmart ได้ Order เป็นแหวน 20,000 วงซึ่งต้องส่งสินค้าให้ Walmart ก่อนคริสมัส แต่สิ่งที่ผมต้องทำ ณ วันนี้คือต้องเสนอราคาขายแหวนต่อชิ้นกับ Walmart และการผลิตแหวน 20,000 วงต้องใช้เวลาผลิตประมาณ 2 เดือน ถ้าผมไม่ Lock ราคาต้นทุนทองไว้ให้คงที่ ผมอาจจะต้องขาดทุนแน่ๆ เพราะผมได้กำหนดราคาขายให้ Walmart ไปตั้งแต่วันนี้ซะแล้ว งั้นสิ่งที่ผมทำได้มี 2 ทางคือ

  1. ซื้อทองเท่าที่ต้องใช้จริง ณ วันที่ผมทำสัญญากับ Walmart ทันทีเพื่อ Lock ราคาต้นทุนแต่ต้องใช้เงินมากอยู่หรือ
  2. ผมจะไปซื้อ Gold future เพื่อ Lock ราคาต้นทุนทองเหมือนกันแต่ผมใช้เงินแค่ 10% ในการซื้อสัญญา

อ้อ…ในการใช้สิทธิ์ของ Future นั้นโดยส่วนใหญ่เกือบจะ 100% จะไม่มีการส่งมอบของกันจริงๆ สิ่งที่เราจะได้คือกำไรหรือขาดทุนจากการถือสัญญานั้นมากกว่า อันนี้ลองอ่านรายละเอียดต่อไปนะครับจะได้เห็นภาพมากขึ้น

ส่วนการคำนวณราคาของ Gold future นั้นมาจากการใช้ราคาทองในปัจจุบันบวกกับดอกเบี้ย หรือต้นทุนในการถือครองอื่นๆที่มีในระยะเวลาตามสัญญาที่กำหนด เช่น 1, 2 หรือ 3 เดือนเป็นต้น โดยวางมัดจำไว้ก่อนประมาณ 10% ของราคาที่จ่ายทั้งหมด(อันนี้แล้วแต่การกำหนดขององค์ที่ดูแล อย่างในไทยก็ TFEX ครับ) โดยที่คุณยังไม่ได้ทองคำจริงๆ มาครอบครอง เอ๊ะ…..ถ้าผ่านไประยะเวลาหนึ่งแล้วราคาทองจริงๆ ในตลาดมันเกิดสูงขึ้นหรือลดต่ำลงล่ะจะมีประโยชน์ยังไง

กรณีราคาทองคำจริงนั้นสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือนหลังจากที่ผมได้ซื้อ Future contract ไว้

สมมุติ ราคาทองคำ ณ วันที่ผมทำสัญญากับ Walmart อยู่ที่ 1,500 USD/oz และผมก็ได้ซื้อ Future contract ที่ราคานี้ไว้แล้ว ถ้าทองที่ซื้อขายกันจริงๆ ในตลาดมีราคาสูงขึ้น เช่น 1,600 USD/oz อันนี้ผมก็ไม่ขาดทุนเนื่องจากเราได้ Lock ราคาที่ต้นทุนเดิมไว้แล้วเพราะ Future contract ที่ซื้อไว้ที่ 1,500 USD/oz จากนั้นเราก็นำ Future contract ที่ซื้อไว้ไปขาย กำไรที่ได้จากการขาย Future contract เท่ากับ 100 USD/oz ไปทดแทนต้นทุนทองที่เราต้องซื้อจริงในตลาด ณ วันนี้คือ 1,600 USD/oz

กรณีราคาทองคำจริงนั้นต่ำลงเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือนหลังจากที่ผมได้ซื้อ Future contract ไว้

สมมุติ ราคาทองคำ ณ วันที่ผมทำสัญญากับ Walmart อยู่ที่ 1,500 USD/oz และผมก็ได้ซื้อ Future contract ที่ราคานี้ไว้แล้ว ถ้าทองที่ซื้อขายกันจริงๆ ในตลาดมีราคาลดลง เช่น 1,400 USD/oz สิ่งที่เกิดเหมือนว่าผมจะขาดทุน 100 USD/oz  เพราะผมไปซื้อสัญญาว่าจะยินดีซื้อทองที่ราคา 1,500 USD/oz ในขณะที่ในตลาดขายกันแค่ 1,400 USD/oz แต่ในมุมมองของผมก็ยังมีกำไรอยู่ดี เนื่องจากผมได้ตกลงขายแหวนกับ Walmart ไว้ที่ราคาต้นทุน 1,500 USD/oz ซึ่งในนั้นผมได้บวกกำไรการการผลิตไว้อยู่แล้ว

จะเห็นได้ว่าการซื้อ Future contract แท้จริงแล้วเกิดขึ้นเพื่อการ Lock ต้นทุนของคนทำธุรกิจนั่นเอง เราไม่ได้ขาดหวังกำไรหรือขาดทุนจากการขึ้นลงของราคาทอง แต่เราหวังกำไรจากการทำธุรกิจมากกว่า

แต่พัฒนาการของ Future contract ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงมาเป็นการลงทุนเพื่อเก็งกำไรอีกด้วย เดี๋ยวเรามาติดตามกันต่อในตอนต่อไปนะครับ

 

 

เริ่มต้นการลงทุนใน LTF (Long-Term Equity Fund) (ภาค 2)

หลังจากที่ได้เริ่มเกริ่นใน ภาค 1 เกี่ยวกับการเริ่มลงทุนใน  LTF (Long-Term Equity Fund) นั้น ผมคิดว่าผู้ลงทุนบางท่านคงจะเริ่มเห็นโอกาสบางอย่างที่จะช่วยลดภาษีเงินได้ส่วนบุคคลและมีผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากธนาคาร  อีกประเด็นหนึ่งที่ทางผู้ลงทุนควรจะคิดต่อมาคือ แล้วจะบริหารเงินอย่างไร เพื่อจะมีเงินมากพอมาลงทุนใน LTF แต่ละปี ผมเองขอยกตัวอย่างดังนี้ นาย ก มีรายได้ 750,000 บาทต่อปี หลังหักค่าใช้จ่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด ประกันชีวิต เงินบริจาคต่างๆ และอื่นๆ มีรายได้พึงคิดภาษีอยู่ที่ 400,000บาท แน่นอนเลยว่าถ้านาย ก. ไม่ลงทุนใน LTF นั้น เงินได้ที่ถูกนำมาคิดภาษีจะเป็น 400,000 x 10% ซึ่งแน่นอนว่านาย ก จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ของปีนั้นเท่ากับ 40,000 บาท ซึ่งนับว่ามากอยู่  แต่ถ้านาย ก. ตัดสินใจลงทุนใน LTF (ซึ่งจะไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนต่างๆ ซึ่งหมายถึง 15% ของ 750,000 = 112,500 บาท) นั่นหมายความว่า นาย ก สามารถนำ LTF ที่ตัวเองลงทุนมาลดภาษีได้ไม่เกิน 112,500 บาทในปีนั้นๆ  อนึ่ง นาย ก. สามารถซื้อ LTF มากกว่า 112,500 บาทได้ แค่สามารถนำมาลดภาษีเงินได้บุคคลไม่เกินจำนวนดังกล่าว

เมื่อนาย ก. ตัดสินใจที่จะลงทุนใน LTF เพื่อประโยชน์ในเรื่องภาษีนั้น สิ่งที่นาย ก. ต้องวางแผนต่อไปคือ จะลงทุนอย่างไร ให้ตัวเองไม่ขาดสภาพคล่อง พูดง่ายๆว่าไม่ใช่เอาเงินมาลงทุนใน LTF จนไม่มีเงินสดในมือ (ยกตัวอย่างกรณีที่ นาย ก. ลงทุนซื้อ LTF จำนวน 112,500 บาท ตอนปลายเดือนธันวาคมเพื่อให้ทันงวดภาษี) ถึงแม้ว่านาย ก. จะมีสิทธิ์ซื้อทีเดียวตอนปลายเดือนธันวาคม แต่จากประสบการณ์การลงทุนใน LTF ของผม ผมคิดว่าการซื้อ LTF ต้องดูช่วงเวลา (Timing) ควบคู่กันไปด้วยเพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด

ผมเข้าใจดีว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ลงทุนจะทยอยซื้อหน่วยลงทุน LTF ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นเริ่มตกลงเพราะอาจจะเป็นการยุ่งยากเกินไป อนึ่งได้มีผู้ที่มีประสบการณ์ลงทุนเสนอวิธีการ (ผมขอไม่พูดในมุมวิชาการแต่ขอใช้ลักษณะการเล่าให้เข้าใจง่าย) ที่ทำให้ผู้ลงทุนสามารถมีสภาพคล่องมากขึ้นบวกกับได้ผลตอบแทนมากขึ้นจากการลงทุนใน LTF

ผมขอยก 1 วิธีที่มีผู้พูดถึงครับ โดยวิธีที่ 1 จะเป็นการที่ผู้ลงทุนจะวางแผนถึงจำนวน LTF ที่จะซื้อในปีนั้น เช่น นาย ก. วางแผนจะลงทุน 112,500 บาทในปี 2554 นาย ก. สามารถทำโดยแบ่งเค้ก 112,500 บาทออกเป็น 12 ส่วน (112,500/12 = 9,375 บาท) แล้วลงทุนเดือนละครั้ง ถ้าจะให้ดีควรเลือกวันที่เดียวกันด้วย ทุกๆเดือน เช่น นาย ก. ตัดสินใจลงทุน 9,375 บาท ทุกเดือนตั้งแต่ เดือนมกราคม 2554 ถึง เดือนธันวาคม 2554 และอาจเลือกวันที่ 29 ของทุกเดือนในการซื้อ (ตอนนี้ บาง บลจ. มีโครงการที่จะให้ผู้ลงทุนสมัครเพื่อทุกเดือนจะให้ผู้ลงทุนได้ลงทุนใน LTF ที่วันที่เดียวกันทุกเดือน โดยตัดจากบํญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตของผู้ลงทุน) วิธีการนี้มาจากทฤษฎี dollar averaging ซึ่งบอกว่าผลจากการลงทุนจะเฉลี่ยกนแต่ละเดือนและแทบจะเป็นการรับประกันเลยว่า ผลตอบแทนจะเป็นบวกซึ่งวิธีนี้จะง่ายโดยเฉพาะกับผู้ลงทุนมือใหม่

ผมอยากจะบอกว่าการลงทุนใน LTF จริงๆแล้วไม่ได้มี Pattern ที่ถูกบังคับทำให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ตามความถนัดของตัวเอง ซึ่งวิธีที่ผมเสนอมาเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งให้กับนักลงทุนใน LTF โดยเฉพาะมือใหม่ เพื่อให้ไม่ใช่แค่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่มีสภาพคล่องด้วยครับ

ตอนนี้ก็เดือนกันยายนแล้วนะครับ อย่าลืมเริ่มลงทุนเพื่อรับโอกาสในการลดภาษีเงินได้และอาจจะวางแผนไปถึงปีหน้าด้วยเลยนะครับ

 

โดย ด.ช.รักลงทุน

ตอนที่ 26 Gold ETF น่าสนใจแค่ไหนนะ

ในช่วงที่ผ่านข่าวเรื่องการขึ้นลงของราคาทองคำนั้นเป็นที่กล่าวถึงกันมาก และด้วยราคาที่มีความผันผวนไม่น้อยทำให้ต้องมีการออกมาประกาศปรับราคากันเป็นระยะๆ มีหลายคนที่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และที่เสียเงินไปก็ไม่น้อย นักวิเคราะห์หลายต่อหลายท่านก็ยังคงแนะนำให้ติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะด้วยความผันผวนของราคาดังกล่าว หลายท่านที่อยู่ในสายการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็แนะนำให้มองการลงทุนในทองเป็นหนึ่งในการจัดพอร์ทของการลงทุนที่มี อย่างถึงขั้นไปฝากเงินทั้งหมดไว้กับทองเพียงอย่างเดียว สัดส่วนการลงทุนในทองที่พูดถึงกันมากคือ 10%-15% ของมูลค่าพอร์ทการลงทุน อันนี้ผมว่าแล้วแต่คนอยู่ดีนะ อย่างเพื่อนผมกลุ่มหนึ่งก็ยังคงลงทุนในทองเพียงอย่างเดียวเพราะเขามองว่าเขาชำนาญกว่า ส่วนอีกกลุ่มก็ลงทุนแต่ในหุ้นอย่างเดียวไม่สนใจทองเพราะเห็นว่าราคาผันผวนมากไปเดายาก อันนี้ผมว่าแล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่านละกันนะครับ แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงอีกเครื่องมือที่ใช้ในการลงทุนซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ในเฉพาะทองเท่านั้น เพราะรูปแบบการลงทุนแบบ EFT และ Future นั้นมีในหลากหลายรูปแบบทั้ง SET50 ข้าว ยางพารา แต่วันนี้เราจะพูดถึงทองเป็นหลักกันนะครับ

Gold ETF คืออะไร

Gold ETF คือกองทุนที่ตั้งขึ้นในลักษณะ Passive Fund หมายความว่า เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะเอาเงินที่ได้ไปซื้อทองคำแท่งมาเก็บรักษา โดยจะมีผู้ดูแลที่แต่งตั้งโดยตลาดหลักทรัพย์ และได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่กำกับดูแลของรัฐ คำว่า Passive หมายความว่ากองทุนนี้มีจุดประสงค์ที่จะไม่มีการนำทองคำ ไปซื้อขายเพื่อทำกำไรแต่จะหากำไรจากการขยับของราคาทองคำเท่านั้น เริ่มต้นก็ต้องมีการจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งกองทุนขึ้น และนำหน่วยลงทุนออกขาย เมื่อได้เงินมาแล้วก็นำไปจัดซื้อทองคำตามจุดประสงค์ แล้วนำทองคำนี้ไปฝากไว้กับ Custodian ที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยจะมีการนำหน่วยลงทุนนี้ไปขึ้นทะเบียนไว้ที่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้นักลงทุนสามารถที่จะไปสั่งซื้อขาย ได้ตลอดเวลาที่ตลาดเปิดทำการ

คราวนี้มาดูว่าตัว Gold ETF นี้ต่างจากหน่วยลงทุนที่มี บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมต่างๆเปิดขายอยู่ตอนนี้อย่างไร ท่านนักลงทุนที่เคยลงทุนในกองทุนอาทิ KGold หรือ Gold Fund ของ TMBAM หรือที่ใกล้เคียงเป็นต้น ท่านจะทราบว่า การซื้อหรือขายหน่วยลงทุนจะมีข้อจำกัดหลายๆด้าน เช่นต้องแจ้งความประสงค์ก่อนเวลา 15.30 น. และราคาของหน่วยลงทุนจะถูกคำนวณหลังจากที่ตลาดปิดแล้ว บางกองต้องรอข้ามวันเพื่อทราบราคา NAV ซึ่งพวกกองทุนเหล่านี้ไม่ได้เป็นการซื้อโดยตรง first hand แต่เป็นการซื้อหรือขายผ่าน บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมในต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง ทำให้นักลงทุนต้องจ่ายค่าบริหารจัดการ เป็นสองหรือสามต่อซึ่งมากกว่าที่จะไปซื้อด้วยตัวเอง แต่นั่นก็ไม่สามารถทำได้เพราะว่า ในประเทศไทยยังมีกฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินทุนที่จะไปลงในต่างประเทศที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลอยู่

เรามาพิจารณาว่าทำไม Gold ETF ถึงมีคนนิยมมากมาย ก็เพราะว่าคนสนใจที่จะลงทุนในทองคำ แต่ไม่สามารถที่จะหาซื้อมาเก็บได้เอง ด้วยสาเหตุของการที่มีต้นทุนในการซื้อ การจัดเก็บ อีกทั้งการหาซื้อก็ต้องซื้อในปริมาณที่มากๆเพื่อให้ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกเป็นต้น อีกทั้งราคาของหน่วยลงทุนมีราคาไม่สูงมากนัก ทำให้นักลงทุนทุกคนสามารถที่จะซื้อมาเก็บได้ แต่ที่นักลงทุนจะเข้าไปทำการซื้อขายนี้ เป็น ตลาด secondary โดยที่ในตลาด primary นั้นจะมีตัวละครอยู่แค่2-3 คนเท่านั้น คือ ตัวกองทุน PD (Participating Dealer) และ Market Maker โดยที่ทั้ง 3 ฝ่ายนี้จะมีหน้าที่ต่างกันและทำงานโดยเอื้อซึ่งกันและกัน โดยที่นักลงทุนจะทำการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดผ่าน PD เมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุนในตลาดมากกว่าการขาย กองทุนก็จะออกหน่วยลงทุนแล้วนำเงินไปซื้อทองคำ แต่หากเป็นในทางตรงกันข้าม มีการขายมากกว่าการซื้อ ก็จะมีการนำหน่วยลงทุนไปคืนให้กองทุน ทำให้กองทุนจะต้องนำทองคำออกขายเพื่อคืนเงินให้นักลงทุน เห็นไหมครับ ลักษณะการคิดไม่ยากอย่างที่เราเข้าใจ เพียงแต่เราทำการซื้อขายทองผ่านกองทุนโดยมีตลาดหลักทรัพย์เป็นคนกลาง คอยป้องกันไม่ให้เกิดการผิดสัญญา เวลาที่มีคนซื้อขาเดียวมากๆ หรือมีคนขายขาเดียวมากๆ การชำระราคาก็มีการชำระผ่าน TCH (Thailand Clearing House) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ เราจึงตัดปัญหาการรับเช็คเวลาเราไปส่งมอบทองให้ร้านทองได้เลย

ปัจจุบัน มี 1 กอง ได้แก่ กองทุนเปิด เคแทม โกลด์ อีทีเอฟ แทร็กเกอร์ (KTAM GOLD ETF TRACKER: GLD) เป็น Gold ETF กองแรกในไทย เปิดซื้อขายวันแรกวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีบลจ.กรุงไทย (KTAM) เป็นผู้จัดการกองทุน บริษัท ฮั่วเซ็งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส เป็นผู้ดูแล สภาพคล่อง โดยกองทุนรวม อีทีเอฟทองคำนี้เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำต่างประเทศซึ่งเป็นกองทุนรวมหลักอีกต่อหนึ่ง ชื่อว่า กองทุน “SPDR Gold Trust”

เอ! แล้วมันต่างอะไรกับที่มีกองทุนทองของบลจ.ต่างๆ ก็ตรงที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหรือสั่งขายได้ในลักษณะ real time อย่างไรละครับ เช่นในทางทฤษฎี ราคาของหน่วยลงทุนจะต้องคล้องจองไปกับราคาของทองคำโลก ดังนั้นเมื่อราคาทองโลกขึ้น ราคาของหน่วยลงทุนก็ต้องขึ้นไปตามสัดส่วน และเวลาราคาทองโลกลง ราคาของหน่วยลงทุนก็ต้องลงเช่นกัน ดังนี้เราสามารถขจัดปัญหาการกั๊กราคาของสมาคมค้าทองคำได้ เห็นไหมครับ น่าสนุกและน่าตื่นเต้นดีออก ที่ในไม่ช้า เราจะมีเครื่องมือมาช่วยให้พวกเรานักลงทุน สามารถแสวงหาความมั่งคั่งได้อีก 1 ตัวแล้ว และเป็นการลงทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีหน่วยงานราชการคอยควบคุมผลประโยชน์ให้ท่านอีกครับ ในแวดวงของการลงทุนเรื่องนี้ ยังมีคำศัพท์ที่พวกเราควรต้องรู้ไว้คือ Redeem และ Create โดยคำแรก หมายความถึง มีผู้ลงทุนต้องการที่จะขายหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก ทาง PD(Participating Dealer)จะไปทำการติดต่อกับทางกองทุน เพื่อทำการขอ Redeem คือเอาหน่วยลงทุนไปคืนเขาแล้วรับเงินคืนกลับมา เพื่อนำส่งต่อให้นักลงทุน ส่วน คำที่สองคือในกรณีที่มีนักลงทุนจำนวนมากมีความต้องการซื้อหน่วยลงทุน ทาง PDก็จะไปติดต่อกับกองทุนเพื่อให้เขาออกหน่วยลงทุนออกมาในจำนวนที่ต้องการ แล้วทาง PD ก็จะจ่ายเงินให้กองทุนเป็นค่าหน่วยลงทุน แล้วนำหน่วยลงทุนนี้มามอบให้กับนักลงทุน

ความแตกต่าง

ETF

กองทุนเปิด

ทองคำแท่ง

ราคา

ตลอดเวลาทำการ

สิ้นวันทำการ

ตามราคาประกาศของสมาคมผู้ค้าทอง
ช่องทางการซื้อขาย

ซื้อขายผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์(ผ่านโบรกเกอร์หรือซับโบรกเกอร์)

บลจ. หรือ ตัวแทนจำหน่าย

ซื้อขายโดยตรงกับร้านทอง
การขายชอร์ต

ได้

ไม่ได้

ไม่ได้
การส่งคำสั่ง Limit Order

ได้

ไม่ได้

ไม่ได้
การซื้อด้วยบัญชีมาร์จิ้น

ได้

ไม่ได้

ไม่ได้
ค่าธรรมเนียมการบริหาร

ต่ำ (Commission)

ต่ำ – ปานกลาง

ไม่มี มีแต่ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขาย
การซื้อขายแบบ Active

ง่ายและสะดวก

อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

ไม่มี
ผลตอบแทนการลงทุน

กำไร ขาดทุน ตามราคาทองคำในตลาดโลก และค่าเงินเป็น THB/USD

กำไร ขาดทุน ตามราคาทองคำในตลาดโลก และค่าเงินเป็น THB/USD

กำไร ขาดทุน ตามราคาทองคำในตลาดโลก และค่าเงินเป็น THB/USD
มูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำ

ขั้นต่ำ 100 หุ้น(ตามมูลค่าของ ETF/หน่อย

ขึ้นกับแต่ละกองทุนกำหนด เริ่มต้นขั้นต่ำ 2,000 บาท

น้ำหนักทองคำ 5 บาท 10 บาท
สถานที่จัดเก็บทองคำ

ห้องมั่นคงของธนาคาร หรือสถานที่จัดเก็บโหละมีค่า

ห้องมั่นคงของธนาคาร หรือสถานที่จัดเก็บโหละมีค่า

ที่บ้าน เช่าเชฟธนาคาร ตั๋วทอง

ที่มาของบทความ ร้านทองคุณไก่ และ Money Chanel

เกษียณอย่างมีความสุข


ในที่สุดก็ใกล้เข้าโค้งสุดท้ายของปี 2554 กันอีกแล้วนะครับ ทำให้คิดได้ว่าวันเวลาผ่านไปไวจริงๆ แป๊บเดียวตัวเลขอายุก็จะเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ผมคิดว่าตอนนี้ใครที่ยังไม่ได้คิดวางแผนการเงินของตัวเองเลยคงต้องเริ่มเดินหน้ากันอย่างจริงจังได้แล้วล่ะครับ ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ มีข้ออ้างๆ กันต่อไปเรื่อยๆ แป๊บเดียวเมื่อถึงวันที่เรามีความสามารถในการหารายได้ ได้น้อยลงแล้วจะมีปัญหาเอานะครับ

วันนี้ผมอยากให้เราลองมาจินตนาการกันถึงวันที่ไม่ต้องทำงานอีกต่อไปหรือ “เกษียณ” ไงครับ ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้คนหนุ่มๆ ยุคใหม่มีความคิดในการเกษียณออกจากงานประจำกันตั้งแต่อายุที่น้อยลง ถ้าเป็นแต่ก่อนก็ 60 ปี แต่เท่าที่ผมได้ลองคุยๆ กันกับน้องๆ เพื่อนๆ มีเยอะที่เดียวครับทีอยากเกษียณตั้งแต่ 40 ปลายๆ เพราะอยากเราเวลาไปทำในสิ่งที่ชอบบ้าง หรืออยู่กับครอบครัวได้อย่างเต็มที่บ้าง เอ๊ะ…. แล้วเราจะเราเงินที่ไหนใช้ล่ะเมื่อเราออกจากงานประจำแล้ว และความคาดหวังในการใช้ชีวิตหลังเกษียณจะเป็นยังไง หรูหราฟูฟ่า ได้อยู่หรือเปล่าหรือต้องอยู่แบบมัธยัสถ์สุดๆ  ผมว่าคุณอยากจะใช้ชิวิตแบบไหนหลังเกษียณ คุณสามารถเลือกได้แต่ลงต้องวางแผนและลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้แล้วล่ะครับ  อ้อ….อีกอย่างถ้าใครคิดว่าจะไว้รอพึ่งลูกหลานตอนแก่แล้วล่ะก็ ผมว่าให้มีเผื่อเหลือไว้ดีกว่าครับอย่างน้อยเราเองก็ไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน นอกจากนั้นบางที่เรายังจะช่วยสนับสนุนเขาไปติดลมบนก่อนได้อีกซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้น่าจะดีกว่ามากมายจริงมั้ยครับ

ที่นี้เรามาดูเราลองมาดูวิธีคิดกันซักหน่อยว่าจะคำนวณเงินเก็บและการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังการเกษียณกันอย่างไร

จำนวนเงินที่ควรมีหลังเกษียณ = 70% ของจำนวนเงินที่ใช้จ่ายต่อปีในปัจจุบัน X จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ

ตัวอย่างเช่น

สาธุตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 25 ปี ถ้าสาธุ มีค่าใช้จ่ายปัจจุบัน  50,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของเพลินใจจะเท่ากับ 35,000 บาทต่อเดือน(70% x 50,000) หรือประมาณ 420,000 บาทต่อปี จากนั้นก็นำไปคูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ ซึ่งก็คือ 25 ปี นั่นหมายความว่าสาธุควรมีเงินประมาณ 10,500,000 บาท ตอนอายุ 55 ปี (420,000 x 25) ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

อันนี้เป็นการคำนวณอย่างหยาบๆ นะครับแต่ในชีวิตจริงคนเรายังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปทั้งสุขภาพกาย ภาระต่างๆ ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น อัตราเงินเฟ้อ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เรามีต้นทุนในชีวิตหลังเกษียณไม่เหมือนกัน

ที่นี้เราลองมาดูแหล่งที่มาของรายได้เพิ่มเติมที่คุณจะได้มาหลังเกษียณมีอะไรบ้าง

กองทุนประกันสังคม

หากเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน คิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของกองทุน และถ้าจ่ายสมทบเกินกว่า 15 ปี ก็จะได้โบนัสอีกปีละ 1.5% สมมติเราจ่ายสมทบมา 30 ปีก่อนเกษียณ จะได้โบนัส 15 ปีหรืออีก 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน จะได้รับเงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ)/ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หรืออาจเป็นเงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ ตามเงื่อนไขทางราชการ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน ถ้าเราเริ่มทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน ถ้าได้เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท บริษัทขึ้นเงินเดือนปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

แต่เงินที่ได้จากแหล่งต่างๆ เหล่านี้ก็ยังอาจจะไม่พอเพราะเรายังไม่ได้คิดถึงภาวะเงินเฟ้อในอนาคตที่จะเกิดขึ้นและเรื่องสุขภาพที่อาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหรือค่าใช้จ่ายในการรักษาหรืออื่นๆ ที่ไม่คาดฝันที่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรายังต้องวางแผนการนำเงินไปลงทุน ซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองไว้ด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้หงอกเงยหรือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การลงทุนในระยะยาวสำหรับชีวิตหลังเกษียณที่นิยมพูดถึงกันบ่อยคือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “RMF” ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุนให้เราได้ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รับประโยชน์ทางภาษีในช่วงที่ลงทุนอีกด้วย ปัจจุบันมีกองทุนรวม RMF มากมาย ให้เราเลือกได้ตามนโยบายการลงทุนที่ต้องการ

การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แม้ว่าผลตอบแทนที่แท้จริงจากการทำประกันชีวิตจะไม่มากมายนัก แต่การทำประกันชีวิตแบบระยะยาว มีข้อดีก็คือ สร้างวินัยทางการเงินให้เราได้ มีให้เลือกหลายแบบ มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และยังได้ประโยชน์ในทางภาษีด้วย

งั้นเรามาดูสัดส่วนการออมที่มาตรฐานไปแนะนำกันหน่อย

อายุที่เริ่มต้นออม เงินออมรายเดือน (%ของเงินเดือน)
เริ่มทำงาน – 39 ปี 10% – 15%
40 – 49 ปี 20% – 25%
50 – 54 ปี 45% – 50%
55 – 59 ปี 80% – 85%

ส่วนใครที่ยังอยากเรื่องเกี่ยวกับการออมก็ไปอ่านเพิ่มเติมกันได้ที่  การสร้างนิสัยการออม ต่อได้นะครับ

ตอนที่ 25 แนวทางการเลือกกองทุนทองคำ

มาแล้วครับ…..ต้องขอโทษขาประจำที่ตามอ่านกันหน่อยเนื่องจากช่วงเดือนที่ผ่านมาผมเองก็ค่อนข้างยุ่งพอตัวที่เดียว เนื่องจากงานที่ทำอยู่มีหลายเรื่องเข้ามาพร้อมๆ กันทำให้หัวหมุนไปดูเรื่องโน้นทีเรื่องนี้ที่ เลยทำให้การออกบทความล่าช้าจากเป้าที่ได้ตั้งใจว่าพอควรที่เดียว จากคราวที่แล้วสัญญาว่าจะเลือกกองทุนที่น่าใสจนสัก 2-3 กองทุนมาเปรียบเทียบให้ดูว่าที่ไหนน่าสนใจและมีจุดเด่นอะไรเป็นพิเศษ เอาล่ะไม่รอช้ามาดูกันเลยดีกว่า

รายการ K-GOLD (K-ASSET) TMBGOLDS (TMBAM) SCBGOLD (SCBAM)*
วันจดทะเบียนกองทุน 30 มิ.ย. 2551 07 ก.พ. 2554 26 ส.ค. 2554
เงินปันผล มี(เสียภาษีจากเงินปันผลจ่าย 10%) ไม่มี ไม่มี
นโยบายการชำระเงิน ภายใน 3 วันทำการซื้อขายถัดจากวันทำรายการตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป (T+3) ภายในวันทำการซื้อขายก่อนเวลา 14.30 น.เป็นต้นไป (T) ภายใน 3 วันทำการซื้อขายถัดจากวันทำรายการตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป (T+3)
จำนวนหน่วยลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท ในการสั่งซื้อครั้งแรก 2,000 บาทครั้งต่อๆ ไปตั้งแต่ 1 บาทหรือ 1 หน่วยขึ้นไป ในการสั่งซื้อครั้งแรก 5,000 บาทครั้งต่อๆ ไปตั้งแต่ 1,000 บาท
ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มี ไม่มี ไม่มี
สัดส่วนการลงทุน ลงทุน  92.83% ในกองทุน SPRD Gold trust และ7.17% ในสินทรัพย์อื่น( ณ วันที่ 3 ก.ย. 54) ลงทุน > 80% ในกองทุน SPRD Gold trust ลงทุน > 80% ในกองทุน SPRD Gold trust
ค่าธรรมเนียมการจัดการ ไม่เกิน 1.50% (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.3900% ) ไม่เกิน 1.50 (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 1.1000% ) ไม่เกิน 1.50
ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ไม่เกิน 0.07% (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.0500% ) ไม่เกิน 0.10 (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.0300% ) ไม่เกิน 0.10
ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ไม่เกิน 0.015% (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.0400% ) ไม่เกิน 0.20 (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.1000% ) จ่ายตามจริง
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี)   ตามที่จ่ายจริง (ดูหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ)   ตามที่จ่ายจริง (ดูหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ)   ตามที่จ่ายจริง (ดูหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ)
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถเรียกเก็บจากกองทุนได้ ไม่เกิน ร้อยละ1.85 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.5900% ) ไม่เกิน ร้อยละ1.85 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่เกิน ร้อยละ1.95 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
ค่าใช้จ่ายในการซื้อ ขาย หลักทรัพย์ ที่เรียกเก็บจากผู้ทำรายการนี้ เมื่อมีการสั่งซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน (ร้อยละของมูลค่าหน่วยลงทุนเก็บเข้ากองทุน) ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ ในอัตราอัตราร้อยละ 0.10 เมื่อสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน ไม่เกิน 0.75 (ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.25**) ไม่เกิน 0.50 (ยกเว้นช่วงแรก)
ช่องทางซื้อขาย 3 ช่องทาง

ซื้อที่ Counter ธนาคาร

บริษัทจัดการฯ

Internet ผ่าน K-Cyber

6 ช่องทาง

บริษัทจัดการฯ

ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ(IVR)

ATM ธนาคารทหารไทย

Internet TMB

คำสั่งซื้ออัตโนมัติ (AIP)

เจ้าหน้าทีลูกค้าสัมพันธ์

3 ช่องทาง

ซื้อที่ Counter ธนาคาร

บริษัทจัดการฯ

Internet ผ่าน SCB easynet

*มีทั้งแบบป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและไม่มีในตารางที่ให้เป็นแบบไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ที่นี้เรามาดูหลักเกณฑ์ในการเลือกกองทุนกันก่อนนะครับว่ามีอะไรบ้าง

1. มาตรฐานคุณภาพของทองคำแท่งที่กองทุนลงทุน และความปลอดภัยในการเก็บทองคำแท่ง

2. ดูนโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพราะมีผลต่อผลตอบแทนและความผันผวนของกองทุน

3. ค่าใช้จ่ายของกองทุน ว่าสูงต่ำอย่างไร

4. สำรวจก่อนว่าซื้อขายได้หลายช่องทางและมีความสะดวกหรือไม่

5. ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นมาก-น้อยอย่างไร

6. เมื่อต้องการขายคืนหน่วยลงทุนได้รับเงินรวดเร็วอย่างไร

7. ความสามารถในการบริหาร Port

พอเรารู้หลักการกันแล้วก็ลองมาวิเคราะห์ดูว่าแต่ละกองมีอะไรทีน่าสนใจกันบ้างผมได้ทำตัวหนา จุดเด่นในแต่ละด้านของแต่ละกองมาเทียบให้ดูกัน เรามาลองไล่ตามหลักเกณฑ์กันทีละข้อไปเลยละกันนะครับ

1.       ลงทุนที่ไหนกัน จะเห็นได้ว่าทุกกองในที่นี้จะลงทุนใน SPRD Gold Trust ทั้งหมดและมีนโยบายที่จะลงทุนใน >80% ทุกเจ้าเลย ส่วน SPDR Gold Trust คืออะไรสามารถกลับไปอ่านซ้ำได้ใน ตอนที่ 24 กองทุนทองคำ ดังนั้นความต่างในข้อแรกถือว่าไม่มี

2.       การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมานั้นจะมีแต่ของ K-Gold ที่มีการป้องกันเลย ส่วนของ SCB นั้นมีให้เลือกนะครับถ้าไม่มีจะเป็น SCBGOLD ส่วนถ้ามีจะเป็น SCBGOLDH ส่วนของ TMBGOLDS นั้นไม่มีการป้องกันนครับ แล้วเราจะเลือกแล้วมีการป้องกันความเสี่ยงดีหรือเปล่าละอันนี้คุณต้องตัดสินใจเอง แต่ผมมีหลักในการตัดสินใจให้นะครับ

กองทุนทองคำประเภทที่ Hedged นั้น เหมาะกับ ผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการรับความผันผวนขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ต่อบาท   เพราะเห็นว่ามีโอกาสทั้งขาดทุนและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน  และถ้าคุณมีมุมมองอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ต่อบาท โดยเชื่อว่าในช่วงที่ผู้ลงทุนจะลงทุนในกองทุนนี้ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เช่น แข็งค่าจาก 30 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็น 29 บาท ซึ่งจะทำให้เรามีได้กำไรจากขายทองนั้นน้อยลงนั่นเอง เพราะกองทุนทีไปลงคือ SPRD Gold Trust นั้นลงทุนเป็น US Dollar ครับ

แต่ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่เห็นว่าความผันผวนขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ต่อบาทเป็นโอกาสในการลงทุน เพราะมีโอกาสกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็ยอมรับว่ามีโอกาสขาดทุนด้วยเช่นกัน และมีมุมมองอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ต่อบาท โดยเชื่อว่าในช่วงที่ผู้ลงทุนจะลงทุนในกองทุนนี้ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เช่น อ่อนค่าจาก 30 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็น 31 บาท เป็นต้น คุณก็เหมาะที่จะเลือกลงทุนในกองทุนรวมทองคำที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือกองที่ Unheeded

3. ค่าใช้จ่าย ผมแยกออกเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายและส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุน ส่วนที่เกี่ยวข้องการซื้อขายต้องบอกว่า SCB ดีสุดเพราะไม่เก็บเลยในช่วงนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะเก็บอีกที่เมื่อไรนะครับ รองลงมาก็เป็นของกสิกรไทย และ ทหารไทยตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนเท่าที่ผมหาได้ตอนนี้ กสิกร ถูกสุดครับ ส่วนที่เหลือบอกแต่ภาพกว้างๆ เท่านั้นเอง แต่ถ้าดูโดยรวมทั้ง 2 ตัวแล้วตอนนี้ กสิกร ก็ยังได้เปรียบกว่าอยู่ดีครั

4. ช่องทางซื้อขาย  อันนี้ ทหารไทยเยอะมากที่สุดแล้วครับผม

5. เงินลงทุนตั้งต้น  อันนี้ ทหารไทยก็เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ลงทุนง่ายที่สุดเพราะเริ่มที่ 2,000 บาทเอง

6. ระยะเวลาได้เงินคืน อันนี้ ก็ทหารไทยกินขาดอีกแล้วครับ

7. ความสามารถในการบริหาร Port ถ้าดูตอนนี้ของ SCB อาจจะยังไม่ชัดนักแต่ถ้าเทียบในระยะเวลา 6 เดือนด้วยกันแล้วของทหารไทยถือว่ามาแรงที่เดียว ผมว่าอาจจะเป็นช่วงที่ทองมีการดีดตัวแรงด้วยทำให้ตัวผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาของทหารไทยดูเด่นที่เดียว

 

เอาละที่นี้ผมว่าไหนคนคงจะมีตัวเลือกในใจกันแล้วนะครับว่าจะซื้อกองไหนดี ไม่ได้ฟันธงนะครับแต่ในใจของผมมีสีน้ำเงินกับสีเขียวสลับไปมาอยู่  ^ ^  แต่ถ้าใครสนใจการซื้อทองแบบ Real time ไว้คราวหน้าเรามาดูกองทุนกองที่เป็นแบบ ETF และ Future กันนะครับ

 

ตอนที่ 24 กองทุนทองคำ

วันก่อน(24ส.ค.54)ราคาทองหล่นอย่างหน้าใจหายตามที่นักวิเคราะห์หลายคนได้ออกมาเตือนกันก่อนหน้านี้ไปแล้ว ว่าราคาทองช่วงนี้ขึ้นโดยขาดปัจจัยพื้นฐานแต่เป็นการขึ้นเพราะการปั่นราคาของผู้ลงทุนในตลาด ราคาวันที่ 24ส.ค.54 ราคาเปิดตลาดตอนเช้าที่ตลาด New York ราคาประมาณอยู่ที่ 1,850 เหรียญสหรัฐต่อออน พอปิดตลาดตอน 5 โมงเย็นราคาอยู่ที่ 1,750 เหรียญสหรัฐต่อออน มูลค่าอยู่หายไป 100 เหรียญสหรัฐต่อออน สาเหตุใหญ่มาจากนักลงทุนว่าภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะของสหรัฐไม่มีอะไรที่น่ากังวลนักเลยมีการปรับ Port การลงทุนจนส่งผลให้ราคาทองตกทันที ผมไม่แน่ใจว่ามีใครที่เข้าไปรับยอดในช่วงที่ผ่านมามากน้อยแค่ไหน แต่อยากให้ผู้ที่ติดตามอ่านบทความใน moneydee ทุกท่านไม่ขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลงในครั้งนี้นะครับ เอาล่ะมาดูกองทุนทองกันต่อดีกว่าว่าตอนนี้ในไทยมีที่ไหนกันบ้างและเขาไปลงทุนในทองผ่านรูปแบบไหนกัน

 

กองทุนทองในไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

กองทุนทองคำ
คือการลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำ การเคลื่อนไหวของมูลค่าหน่วยลงทุนจะเป็นไปตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลก เปรียบเสมือนลงทุนในทองคำแท่งทางอ้อม ผ่านกองทุนหลักในต่างประเทศ ซึ่งจะนำเงินไปลงทุนในทองคำแท่ง 99.99% หรือ 99.50% อีกทีหนึ่ง โดยกองทุนหลักที่เกือบทุกกองทุนทองของไทยไปลงทุนต่ออีกทีคือ กองทุน SPDR Gold Trust

ข้อดีของการลงทุนกองทุนรวมทองคำ คือผู้ลงทุนใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก ส่วนใหญ่กำหนดเงินลงทุนไว้ต่ำกว่า10,000 บาท และสามารถทำการซื้อขายได้สะดวกโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปร้านทอง และปลอดภัยเนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญหาย

นอกจากนี้ หากต้องการขายทำกำไร หรือทยอยสะสมซื้อ ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องซื้อ หรือขายทองคำแท่งทั้งก้อน และกองทุนทองคำบางกอง อาทิ K-GOLD ยังมีนโยบายการจ่ายปันผล ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนมีกระแสเงินสดใช้โดยที่ไม่ต้องทำการขายคืนด้วย อีกทั้งกองทุนยังมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้ราคาหน่วยลงทุนเคลื่อนไหวตามราคาทองคำตลาดโลกมากที่สุด อย่างไรก็ดี เนื่องจากกองทุนรวมทองคำ มีการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนเพียงวันละ 1 ครั้ง จึงไม่สามารถซื้อและขายคืนในระหว่างวันเพื่อทำกำไรได้เหมือนกองทุน ETF ทองคำ และGold Futures

กองทุน ETF ทองคำ
กองทุน ETF ทองคำ คือกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยกองทุน ETFจะมีการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดหลักทรัพย์ตลอดทั้งวัน จาก อุปสงค์ และ อุปทาน ของนักลงทุนในตลาด ซึ่งจะสอดคล้องกับราคาทองคำ หรือหน่วยลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในทองคำก็ได้ ข้อดีของการลงทุนใน ETF ทองคำคือสามารถทำการซื้อขายในระหว่างวันได้ เพราะราคาจะมีการเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ดี หากมีการซื้อขายบ่อยๆก็จะมีการเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่อัตรา 0.25% ต่อปริมาณซื้อขายนอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังจะต้องมีการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ หรือตัวแทน เพื่อทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
 

เนื่องจากเกือบทุกกองทุนทองของไทยไปลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust งั้นเราก็ควรมาทำความรู้จักกับกองทุนนี้กันหน่อยดีมั้ยครับ

กองทุนSPDR Gold Trust  

เป็นกองทุนเปิดดัชนีที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Exchange Traded Fund : ETF)ที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำ บริหารกองทุนโดยWorld Gold Trust Services, LLC ซึ่งถือหุ้นโดยWorld Gold Council (WGC) ที่เป็นองค์กรร่วมระหว่างบริษัทผู้ผลิตทองคำของโลก

กองทุนSPDR Gold Trust มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงโดยไม่มีการใช้ตราสารอนุพันธ์หรือมีการให้ยืมทองคำแท่งกับผู้ลงทุนอื่น      นอกจากนี้กองทุนยังมีสภาพคล่องสูง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ มีความโปร่งใสและราคาที่ซื้อขายสะท้อนภาวะตลาดที่แท้จริง

กองทุนเน้นการสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำแท่งในตลาดลอนดอน คือ London Gold PM Fix Price ในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สะดวกสบายมากกว่าเพราะผู้ลงทุนไม่ต้องเก็บรักษาทองคำแท่งด้วยตนเอง เนื่องจากกองทุน SPDR Gold Trust มีผู้เก็บรักษาทองคำแท่งให้ ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ สหรัฐอเมริกา (HSBC Bank USA, N.A.)

กองทุน SPDR Gold Trust จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง ได้แก่ นิวยอร์ก สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น

 

 

ที่นี้เราก็ได้รับการปูพื้นความเข้าใจลักษณะของกองทุนทองในไทยไปแล้วที่นี้ผมจะใช้รายชื่อของกองทุนทองในไทยพร้อมทั้งผลประกอบการในช่วงต่างๆ ไว้ให้ดูกันเล่นๆไปก่อนแล้วคราวหน้าผมจะมาเล่าต่อให้ได้อ่านกันว่าตัวไหนน่าสนใจยังไงกันบ้าง

 

No.

Fund บริษัทหลักทรัพย์

1

ASP-GOLD (ASP) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด

2

BGOLD (BBLAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด

3

GLD (KTAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

4

I-GOLD (MFCAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

5

KF-GOLD (AYF) บลจ. กรุงศรี

6

K-GOLD (K-ASSET) บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด

7

KT-GOLD (KTAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

8

NKT GOLD (SCBI) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคิน จำกัด

9

PGOLD (PAMC) Phillip Asset Management Company Limited

10

TGOLD (TISCOAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด

11

TGoldBullion-H (Thanachart) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด

12

TGoldBullion-UH (Thanachart) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด

13

TMBGOLD (TMBAM) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด

14

TMBGOLDS (TMBAM)

 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด

 

ส่วนอันนี้เป็นผลประกอบการของกองทุนต่างๆ ในช่วง 1 เดือนทีผ่านมาโดยเรียงลำดับจากผลประกอบการดีมากสุดไปน้อยสุด

No.

Fund

1 Month 

1

I-GOLD (MFCAM)

+12.3812 %

2

TMBGOLDS (TMBAM)

+12.3419 %

3

ASP-GOLD (ASP)

+12.3091 %

4

K-GOLD (K-ASSET)

+11.6056 %

5

KT-GOLD (KTAM)

+11.2917 %

6

TGoldBullion-H (Thanachart)

+11.2559 %

7

PGOLD (PAMC)

+11.0574 %

8

TGOLD (TISCOAM)

+11.0078 %

9

NKT GOLD (SCBI)

+11.0004 %

10

KF-GOLD (AYF)

+10.9076 %

11

TGoldBullion-UH (Thanachart)

+10.2489 %

12

BGOLD (BBLAM)

+10.2175 %

13

TMBGOLD (TMBAM)

+9.9581 %

14

GLD (KTAM)

ที่มาของข้อมูล  siamchart ณ วันที่ 26 ส.ค. 2554

 

อันนี้เป็นผลประกอบการของกองทุนต่างๆ ในช่วง 6 เดือนทีผ่านมาโดยเรียงลำดับจากผลประกอบการดีมากสุดไปน้อยสุด

No.

Fund

6 Months 

1

TMBGOLDS (TMBAM)

+29.7474 %

2

ASP-GOLD (ASP)

+28.3903 %

3

I-GOLD (MFCAM)

+27.4115 %

4

K-GOLD (K-ASSET)

+26.8689 %

5

KT-GOLD (KTAM)

+25.5192 %

6

KF-GOLD (AYF)

+24.7235 %

7

TGOLD (TISCOAM)

+24.4790 %

8

BGOLD (BBLAM)

+24.3623 %

9

TMBGOLD (TMBAM)

+24.2482 %

10

PGOLD (PAMC)

+23.3887 %

11

NKT GOLD (SCBI)

+22.5289 %

12

TGoldBullion-H (Thanachart)

N/A

13

TGoldBullion-UH (Thanachart)

N/A

14

GLD (KTAM)

N/A

ที่มาของข้อมูล  siamchart ณ วันที่ 26 ส.ค. 2554

 

 

ตอนที่ 23 ลงมือเป็นนัดขุดทองกับเขาซะที

หลังจากที่ได้เขียนเรื่องทองไป 2 ตอนในตอนที่ 21 และ 22 และติดตามราคาทองมาประมาณครึ่งเดือนก็เห็นการ Swing ของราคาทองในแต่ละวันและ Trend ของราคาทองที่ยังอยู่ในขาขึ้นอยู่ พอมาดูรายละเอียดปลีกย่อยลงไปก็พบว่าความคาดหวังและการยอมรับได้ในความเสี่ยงของการลงทุนในทองของแต่ละก็คงจะแตกต่างกัน แต่ถ้าด้วยกระแสที่น่าเย้ายวนของทองเช่นนี้งั้นเราจะลงทุนทองในรูปแบบไหนที่จะเหมาะสมกับตัวเองดีล่ะ โดยทั่วไปรูปบบการลงทุนในทองเท่าที่มีการพูดถึงและในตลาดมีอยู่ด้วยกัน 6 แบบดังนี้นะครับ

ทองรูปพรรณ

พอมีเงินหน่อยสมัยอากง อาม่า ก็จะให้ไปซื้อสร้อย แหวน กำไร หรือต่างหูทองมาเก็บไว้ ถ้าเกิดปัญหาฉุกเฉินขึ้นมาก็ยังเอาทองที่มีไปแลกเป็นของมากินมาใช้ได้ อันนี้ฟังมาจากคุณแม่ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยอากง อาม่านั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งธนบัตรที่ใช้ก็แปรปรวนไม่แน่นอน ร้านค้าบางเจ้าก็รับบางเจ้าก็ไม่เอาบางทีต้องไปขอแบ่งข้าวสารมาเพราะทุกคนก็ห่วงและเก็บไว้กินไว้ใช้เอง พอมีทองไปแลกก็พอจะได้มาบ้างเลยทำให้เป็นเหตุที่อากง อาม่าผมคอยบอกลูกๆหลานๆ ว่าพอมีเงินก็ให้ไปซื้อทองเก็บไว้บ้าง แต่พอมามองในแง่การลงทุนแล้วการซื้อ-ขาย ทองรูปพรรณมีต้นทุนส่วนต่างที่มากกว่าทองแท่งอยู่พอตัว อย่างราคาทอง

รายการ

ราคาซื้อ(คืน)

ราคาขาย(ออก)

ส่วนต่าง

%ส่วนต่าง

ทองรูปพรรณ

24,938.20

25,800.00

861.80

3.34%

ทองคำแท่ง

25,300.00

25,400.00

100.00

0.39%

ราคา ณ วันที่ 18 ส.ค. 2554

จากตารางจะเห็นได้ว่าต้นทุนของการซื้อทองรูปพรรณมาแล้วขายคืน(ไม่หักค่าสึกหร่อที่เกิดจากการใส่) คุณจะขาดทุนไปก่อนแล้วประมาณ 3.34% ขณะที่ทองแท่งขาดทุนไปแค่ 0.39% เท่านั้นเอง

 

ทองคำแท่ง

ตอนนี้การลงทุนในทองคำแท่งถือว่าเป็นการลงทุนในทองคำได้รับความนิยมมากขึ้นและมีต้นทุนการลงทุนต่ำกว่าทองรูปพรรณ ทองคำแท่งที่มีซื้อ-ขาย ในตลาดมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ ความบริสุทธิ์ 96.5% และ 99.99% ซึ่งประเทศไทยนิยมการลงทุนในทองคำ 96.5% (ราคาที่เราเห็นประกาศกันทุกวันในข่าวหรือหน้าร้านทอง) ขณะที่ต่างประเทศจะนิยมลงทุนทองคำ 99.99% ทองคำแท่ง 96.5% ขนาดเล็กที่สุดที่มีซื้อ-ขายกันคือ 5 บาท และขยับขึ้นเป็น 10 บาท 20 บาท และ 50 บาท แต่ถ้าเป็นทองคำแท่ง 99.99% ปริมาณซื้อ-ขายกันอยู่ที่ 100 กรัม 10 บาท 20 บาท และ 1 กิโลกรัม แต่โดยมากมักจะลงทุนกันที่ 1 กิโลกรัม อันนี้เราจะเห็นในจากภาพข่าวที่มีทองหลอมออกมาเป็นแท่งใหญ่ๆ

เหรียญทองคำ

ถ้าพูดถึง “เหรียญทองคำ”นักลงทุนทองคำในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก แต่ถ้าเป็นนักลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะนักสะสมทองคำจะนิยมการลงทุนในเหรียญทองคำ โดยเหรียญทองคำที่เป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมเหรียญทองคำทั่วโลก เช่น South African Krugerrand,Canadian Maple Leaf, Australian Gold Nugget,American Gold Eagle หรือ U.S. Eagles นั่นเพราะนอกจากจะซื้อขายเหรียญทองคำได้ตามน้ำหนักของเหรียญแล้ว นักสะสมยังจะได้กำไรจากความนิยมในตัวเหรียญอีกด้วย ทำให้เมื่อบวกกันแล้วเหรียญทองคำมีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากกว่าการลงทุนในทองคำแท่งเสียอีก

ตัวอย่าง เหรียญทองคำของสหรัฐอเมริกาที่นักสะสมเรียกว่า Double Eagle ออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1907 หรือ พ.ศ. 2450 ราคา 20 เหรียญสหรัฐ ซึ่งในขณะนั้นทองคำซื้อขายกันอยู่แถวๆ 20 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์เช่นกัน แต่วันนี้เหรียญทองคำ Double Eagle ซื้อขายกันอยู่ประมาณ 1,250 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาทองคำแท่งยังลุ้นกันอยู่ว่าจะวิ่งไปถึง 1,000 เหรียญสหรัฐหรือไม่ ไม่ใช่เฉพาะเหรียญทองคำของต่างประเทศเท่านั้นที่จะเป็นการลงทุนทองคำที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนทองคำแท่ง เพราะเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดทองคำ หรือเหรียญทองคำของไทยก็ให้ผลตอบแทนที่น่าทึ่งไม่แพ้กัน ร.ต.อ.กุศิก มโนธรรมนายกสมาคมเหรียญกษาปณ์แห่งประเทศไทย และจักรฤกษ์ ธรรมโชโตประธานชมรมนักสะสมเหรียญ เคยบอกไว้ตรงกันว่า การลงทุนเหรียญทองคำจะไม่มีขาดทุน เพราะมีทั้งราคาทองคำ และราคาหน้าเหรียญเป็นประกัน “ลงทุนทองคำมีทั้งโอกาสกำไรและขาดทุน แต่ถ้าเป็นเหรียญทองคำต่อให้ราคาทองคำตกไปจากวันที่ซื้อ ก็ยังมีราคาหน้าเหรียญเป็นเครื่องค้ำประกัน แต่ถ้าราคาทองคำขึ้น ราคาเหรียญก็ขึ้นไปด้วย และมีโอกาสขึ้นได้มากกว่าราคาทองคำ” จักรฤกษ์ กล่าว เหรียญกษาปณ์ทองคำที่ระลึกมหามงคลพระชนมพรรษา 60 พรรษา หรือเหรียญ 60 พรรษา ที่ออกมาเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2530 น้ำหนักทองคำ 1 สลึงราคาหน้าเหรียญ 1,500 บาท พอมาถึงวันนี้ที่ราคาทองคำไปถึงบาทละมากกว่า 25,800 บาท หรือสลึงละ 6,450 บาท แต่ในวงการนักสะสมเหรียญซื้อขายเหรียญนี้กันอยู่ที่ 28,000 บาท (อ้างอิงจากwww.mpcoin2007.com)

หุ้นเหมืองทอง

ในบางช่วงบางเวลาหุ้นเหมืองทอง(ในต่างประเทศ) เช่น Barrick Gold Anglogold หรือ IAMGOLD น่าสนใจกว่าการลงทุนทองคำโดยตรงแถมยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนทองคำเสียอีก เพราะต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ขายทองคำได้ราคาดีขึ้น แต่ในประเทศไทยมี “หุ้นเหมืองทองคำ”เพียงตัวเดียวในตลาดหลักทรัพย์ คือ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์(THL) ซึ่งเป็นหุ้นในใจของนักลงทุนรายย่อยที่นิยมการซื้อขายทำกำไรระยะสั้น แต่นักลงทุนหลายคนกลับตั้งชื่อเล่นให้หุ้นตัวนี้ว่า “คาทุ่ง” บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ มีบริษัทลูกชื่อ ทุ่งคำ ที่ได้สัมปทานเหมืองทองใน จ.เลย แต่จากการประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2552 ปรากฏว่าขาดทุน 61 ล้านบาท หรือขาดทุนต่อหุ้น 0.08 บาท แถมผู้ตรวจสอบบัญชียังไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินนี้ เพราะมีขอบเขตจำกัดในการสอบทาน พอเข้าไปดูบทวิเคราะห์ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาในเว็บไซต์การเงินอันดับหนึ่ง settrade.com มีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส เพียงแห่งเดียวที่ออกบทวิจัยหุ้นตัวนี้มา (เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2552) โดยแนะนำให้ “ขาย”โดยมีราคาเป้าหมายอยู่ที่ 0.84 บาท ขณะที่ราคาปิดในกระดานเมื่อวันที่28 พ.ค. อยู่ที่ 1.26 บาท พร้อมกับประมาณการกำไรปี 2552 ไว้ที่ 33 ล้านบาท และ 99 ล้านบาท ในปี 2553 โดยคิดเป็นกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.04 บาทในปีนี้ และ 0.13 บาทสำหรับปี 2553 ขณะที่มีราคาต่อกำไร (PE) สูงถึง31.5 เท่า

กองทุนทองคำ

กองทุนทองคำก็เหมือนกับกองทุนประเภทอื่นๆคือ รวบรวมเงินจากนักลงทุนรายเล็กรายน้อยแล้วนำไปซื้อทองคำมาเก็บไว้ แต่ไม่ได้คาดหวังจะซื้อขายทองคำแบบเก็งกำไร แต่จะทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนเคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงกับราคาทองคำในตลาดโลกเท่านั้น และเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นๆ คือ ต้องจ่ายค่าจ้างในการบริหารจัดการกองทุน ซึ่งนี่อาจจะเป็นจุดอ่อนของกองทุนทองคำในประเทศไทย เพราะไม่มีกองทุนทองคำเป็นของตัวเอง จึงต้องจัดตั้งกองทุนขึ้นมาและนำเงินที่รวบรวมได้ไปลงทุนในกองทุนทองคำในต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง ทำให้ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 ต่อ ในอัตราประมาณ 1.3% – 2% นอกจากนี้ แม้ว่าเราจะตัดสินใจซื้อกองทุนวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าราคาทองคำที่ซื้อได้เป็นเท่าไร เพราะต้องรออย่างน้อย 2 วัน หรือถ้าขายหน่วยลงทุนก็ยังไม่ได้รับเงินทันที ต้องรอเวลาเช่นเดียวกัน

แต่ข้อดีของกองทุนทองคำคือ ไม่ต้องเก็บทองไว้ให้นอนสะดุ้ง และมีเงินเพียงแค่หลักพันก็สามารถลงทุนได้แล้ว (สำหรับบางกองทุน) และถ้าอยากได้เงินปันผลซึ่งหาไม่ได้จากทองคำแท่ง บางกองทุนก็สามารถจัดให้ได้ ในตอนนี้มีกองทุนทองคำให้เลือกลงทุนอยู่ 5 กองทุน จาก 5 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ได้แก่ ทหารไทย โกลด์ ฟันด์(TMBGOLD) บลจ.ทหารไทย, เค โกลด์ (K-GOLD) บลจ.กสิกรไทย, เอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โกลด์ ฟันด์ (IGOLD) บลจ.เอ็มเอฟซี, อยุธยา โกลด์ (AYFGOLD) บลจ.อยุธยา และ ทิสโก้ โกลด์ ฟันด์ (GOLDFUND) บลจ.ทิสโก้

โดยทั้ง 5 กองทุนลงทุนในกองทุนแม่กองทุนเดียวกันคือ SPDR Gold Trust กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จัดตั้งและจัดการโดยสมาพันธ์ทองคำโลก (World Gold Council) จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง คือ นิวยอร์กสิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละตลาดจะมีเวลาการซื้อขายและสภาพคล่องแตกต่างกัน

แต่ไม่ใช่ว่าทั้ง 4 กองทุนจะเหมือนกันทั้งหมดเพราะแต่ละกองทุนจะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป อาทิ ตลาดที่เข้าไปซื้อขาย และนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

บลจ.ทหารไทย และอยุธยา ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาทองคำในประเทศ แต่บลจ.กสิกรไทย บลจ.เอ็มเอฟซี และบลจ.ทิสโก้ เปิดทางให้ผู้จัดการกองทุนเลือกที่จะป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้

โกลด์ ฟิวเจอร์ส

ของเล่นใหม่ของนักลงทุน และแม้ว่าโกลด์ฟิวเจอร์สจะเป็นเรื่องใหม่ แต่นพ.กฤชรัตน์ บอกว่าในช่วงนี้มีปริมาณการซื้อขายในตลาดโกลด์ฟิวเจอร์สเพิ่มมากขึ้น และนักลงทุนที่นิยมทองคำแท่งก็เข้ามาในตลาดนี้มากขึ้นด้วย ฟิวเจอร์สทองคำ (Gold Futuers) หรือโกลด์ฟิวเจอร์ส เป็นสัญญาซื้อขายทองคำที่มีทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% เป็นสินค้าอ้างอิง โกลด์ ฟิวเจอร์สก็เหมือนกับฟิวเจอร์สชนิดอื่นๆคือ นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ทั้งในเวลาที่ทองคำเป็นขาขึ้นและขาลง แถมยังใช้เงินลงทุนต่ำกว่าการลงทุนทองคำโดยตรง เพราะการลงทุนไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินตามมูลค่าทองคำที่ลงทุน แต่จะใช้วิธีการวางเงินหลักประกัน หรือที่เรียกว่า Margin

แต่ข้อเสียของโกลด์ ฟิวเจอร์ส คือ เป็นการลงทุนระยะสั้น เพราะแต่ละสัญญาจะมีระยะเวลาครบกำหนด และหากต้องการลงทุนต่อไปอีกก็ต้องใช้วิธีการ Roll Over ทำให้มีต้นทุนในการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ถ้าคิดจะเข้าไปลงทุนคงจะไม่สามารถเดินดุ่มๆ เข้าไปได้ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเสียก่อน เพราะการลงทุนทองคำในรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่าแค่การซื้อทองคำแท่งมาเก็บแล้วรอเวลาขายทำกำไร

ที่นี้เราก็พอจะเข้าใจแล้วว่ามีรูปแบบในการลงทุนในทองแบบไหนบ้าง ส่วนใครชอบแบบไหนเตรียมตัวเงินเตรียมตัวไว้ให้ดีกันก่อนนะครับแล้วอาทิตย์หน้าผมจะลงรายละเอียดเรื่อง กองทุนทอง กันนะครับ ส่วนอันนี้เป็น Web ที่เอาไว้ดูราคาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน kitco

 

ที่มาของบทความบางส่วนคัดลอกมาจาก หนังสือพิมพ์ Post today

 

 

เริ่มต้นการลงทุนใน LTF (Long-Term Equity Fund) (ภาค 1)

หลังจากที่ผมและเพื่อนได้ทำคอลัมภ์กันมาได้ระยะหนึ่ง ก็ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนอื่นๆ ว่ามีใครสนใจเรื่องเกี่ยวกับการเงินและอยากมาช่วยกันในการเขียนคอลัมภ์ด้วยกัน ในที่สุดผมก็ได้ผู้ที่สนใจและเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการแนะนำความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติมอีก 1 ท่านซึ่งท่านนี้ใช้นามปากกาว่า “ด.ช.รักการลงทุน” ซึ่งผลงานชิ้นแรกของ ด.ช.รักการลงทุน นั้นคือ เริ่มต้นการลงทุนใน LTF งั้นเรามาอ่านกันเลยดีกว่านะครับ

 

หลังจากที่รัฐบาลเริ่มมีการเสนอนโยบายเกี่ยวกับการให้ บลจ.ขาย LTF (หองทุนหุ้นระยะยาว) ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีแล้วนั้น ผมมีความรู้สึกว่าเจ้า LTF นี่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวหนึ่งซึ่งสามารถผลักดันให้ประชาชนเกิดการออมในระยะกลางและยาว นอกจากนั้นยังสามารถนำมาลดภาษีเงินได้บุคคลอีกด้วย

มีคำถามมากมายจากผู้ที่ต้องการลงทุนใน LTF ว่าจะเริ่มอย่างไร  มีความเสี่ยงมากไหม  จะเลือกกองทุนไหนดี ขั้นตอนจะยุ่งยากเปล่า  และต่างๆนาๆ ผมเองในฐานะที่เป็นผู้ลงทุนใน LTF ตั้งแต่ปีแรกๆที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวนี้ออกมาสู่ตลาด จึงอยากจะแชร์กับทุกคนเกี่ยวกับกองทุนดังกล่าว

เริ่มจากจะเริ่มอย่างไร  ในปัจจุบันนี้ทาง บลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) จะมีวิธีการในการทำให้การสมัครสั้นโดยนักลงทุนสามารถไปด้วยตัวเองที่ บลจ.และกรอกใบสมัครเพื่อเปิดบัญฃีกองทุน (คนละตัวกับบัญฃีเงินฝากนะครับ) โดยบาง บลจ. เช่น ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย เป็นต้น นักลงทุนสามารถไปที่ธนาคารและแสดงความประสงค์เพื่อเปิดบัญชีกองทุนได้เลย เพราะ บลจ.ที่เป็นเครือของธนาคารในไทยมักจะทำงานร่วมกับตัวธนาคาร เห็นไหมครับง่ายนิดเดียว

แล้ว LTF มีความเสี่ยงมากไหม ผมต้องขอบอกว่าด้วยการที่กองทุนเหล่านี้จะเอาเงินทางท่านนักลงทุนไปลงทุนในหุ้น ความเสี่ยงย่อมมากกว่าการลงทุนในพันธบัตร ฝากธนาคาร หรือแม้แต่หุ้นกู้  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ตาม ผมเองในฐานะลงทุนคนหนึ่งที่อยู่กับ LTF มาประมาณ 10 ปี ผมมีความเห็นว่าถึงแม้ตลาดหุ้นไทยจะมความผันผวนแต่ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ก็จะมีการบริหารจัดการเพื่อช่วยให้ผลกำไรของนักลงทุนได้ออกมาถึงจุดที่ควรจะเป็น  จริงอยู่ที่ว่าการลงทุนที่เกี่ยวกับหุ้นมีความเสี่ยง แต่ High Risk ในก็เท่ากับ High Return ใช่ไหมครับ

อนึ่งผมมองว่าการที่ผมสามารถนำมาลดภาษีเงินได้ 10% (ฐานเงินเดือนขณะนั้น) ก็เป็นเหมือนว่าผมสามารถมีผลกำไรในขั้นต้นแล้ว 10/5 = 2% ต่อปีโดยประมาณถ้าเราเก็บ LTF ไว้ 5 ปีแล้วขาย  บางคนอาจแย้งว่าแค่ถือ 3 ปีกับ 4-5 วัน เช่นซื้อตอน 30 ธันวาคม 2554 และขายตอน 3 มกราคม 2554ผมก็คิดว่าสามารถทำได้ซึ่งถ้าคิดอย่างง่ายๆแล้วจะมีผลกำไรจากการลดภาษี 10/3 = 3.3% ต่อปีเลยทีเดียวในขั้นต้น  ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อเอามารวมกับผลกำไรตอนขายกองทุนเมื่อถือครบ 5 ปีด้วยแล้ว จะสามารถได้รับกำไรอยู่ในเกณ์ดีระดับหนึ่ง

สำหรับการเลือกกองทุน LTF ที่จะลงทุนนั้น  นักลงทุนสามารถเข้าไปดูใน web  www.morningstarthailand.com web ดังกล่าวจะแสดงผลประกอบการณ์และให้เรตติ้งเป็นจำนวนดาวเช่น กองทุนซึ่งมีการบริหารจัดการที่ดีจะได้ 4-5 ดาว อนึ่งผู้ลงทุนอาจอ่านหนังสือชี้ชวนหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ของแต่ละ บลจ.

หลังจากเริ่มเปิดบัญชีกองทุนแล้วนั้น ผู้ลงทุนสามารถซื้อด้วยตัวเองที่ บลจ. ซื้อที่ธนาคารที่ทาง บลจ.ให้สิทธิ์ในการขาย หรือทาง internet ซึ่งสะดวกสบายมากในปัจจุบัน

จากที่ได้เกริ่นมา เห็นไหมครับการเริ่มลงทุนใน LTF ไม่ได้ยุ่งยากและผลตอบแทนของมันก็เรียกได้ว่าคุ้มค่า  ผมเองเก็บ LTF มาประมาณ 10 ปีและได้ขายบางส่วนออกไป  ผมกล้าบอกเลยว่าผมได้รับผลตอบแทนอยู่ในเกณ์ที่ดี เมื่อเทียบกับการฝากนาคาร ซื้อพันธบัตร  ผมแนะนำว่าอย่าผัดวันประกันพรุ่ง  ถ้าอยากเริ่มลงทุนก็ควรเริ่มเดี๋ยวนี้เลย

โดย ด.ช.รักลงทุน

Outsource ความเสี่ยง ตอนที่ 2

จากคราวที่แล้วเราได้คุยกันเรื่อง Outsource ความเสี่ยงในภาพกว้างไปแล้วทีนี้เราลองลงลึกมาอีกหน่อยดีกว่าว่ามีคำถามที่มักจะถามกันบ่อยๆคืออะไรบ้าง เพราะเราจะได้รู้ก่อนที่จะไปหาบริษัทหรือตัวแทนที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เนื่องจากผมเชื่อว่าหลายคนจะกลัวถ้าเข้าไปคุยเลยเขาจะต้องชักชวน ล่อหลอกให้เราซื้อประกันกับเขาให้ได้แน่นอนโดยที่เราเองเวลาฟังแล้วก็อาจจะมึนๆ ตามไม่ค่อยทันเท่าไร…..จริงมั้ยครับ ^ ^

คำถามที่พบบ่อยที่เกี่ยวกับเรื่อง การพิจารณารับประกัน

A.      ประกันชีวิตมีกี่แบบ อะไรบ้าง ??

หลายคนอาจสงสัยว่า… “การประกันชีวิต” มีอยู่เยอะแยะมากมาย แล้วจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับตัวเราก่อนอื่น… เราต้องรู้จักก่อนว่าการประกันชีวิตในบ้านเราแบ่งออกเป็น “2 ชนิด 3 ประเภท 4 แบบ”

2 ชนิด… คือ ชนิดที่มีเงินปันผลและไม่มีเงินปันผล

3 ประเภท… ได้แก่

ประเภทสามัญ” เน้นเฉลี่ยความเสี่ยงในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ทุนประกันค่อนข้างสูง

ประเภทอุตสาหกรรม” ที่มีทุนประกันและเบี้ยประกันต่ำมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง

ประเภทกลุ่ม” เป็นประกันชีวิตของบริษัท ซึ่งนายจ้างจะขอทำประกันให้กลุ่มลูกจ้างหรือพนักงาน ภายใต้กรมธรรม์หลักฉบับเดียวกัน ค่าเบี้ยประกันที่ แต่ละคนต้องชำระจะต่ำกว่าประเภทสามัญ และอุตสาหกรรม

4 แบบ… แบ่งเป็น

แบบชั่วระยะเวลา” (Term Insurance) มีทั้งระยะสั้น ระยะยาว จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน

แบบตลอดชีพ” (Whole Life Insurance) คุ้มครองตลอดชีพ โดยจะจ่ายเงินคืนให้ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบ 99 ปี เหมาะสำหรับ ผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

แบบสะสมทรัพย์” (Endowment Insurance) ลูกผสมระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน จ่ายเงินคืนให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่ออยู่จนครบสัญญาเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินระยะยาว

แบบเงินได้ประจำ” (Annuities Insurance) บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เป็นงวดๆ จนกว่า ผู้เอาประกันจะเสียชีวิต เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสะสมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ

B.      ทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอดี ??

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการทำประกันชีวิต แต่ยังติดที่ไม่รู้ว่าควรจะทำทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอเหมาะพอดี

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ

  1. วิธีทวีคูณรายได้” (The Multiple of Earnings Method) โดยตัวเลขทวีคูณที่นิยมใช้จะอยู่ระหว่าง 3 – 5 เท่าของรายได้ต่อปี

ทุนประกัน = รายได้ต่อปี X ตัวเลขทวีคูณที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น

สมศักดิ์มีรายได้ 500,000 บาทต่อปี สมมติให้ตัวเลขทวีคูณเท่ากับ 5 ดังนั้น สมศักดิ์จึงควร ทำประกันด้วยทุนประกัน 2,500,000 บาท (500,000 x 5)

ตัวเลขทวีคูณตามวิธีนี้ สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวได้ โดยประเมินจาก “ระยะเวลาในการปรับตัว” เพื่อให้คนที่อยู่ต่อไปสามารถดูแลตนเองและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อย่างกรณีของ สมศักดิ์หากสมศักดิ์เสียชีวิตไป ภรรยาของเขาจะได้รับเงิน 2,500,000 บาท ซึ่งจะช่วยให้เธอมีเวลาตั้งหลัก และยังมีเงินใช้จ่ายเหมือนสมศักดิ์ยังคงทำงานหาเงินอยู่อย่างน้อย 5 ปี

2. “วิธีวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน” (The Financial Needs Analysis Method) เพื่อประมาณทุนประกันที่เหมาะสมได้เช่นกัน แต่วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะต้อง พิจารณารายละเอียดรอบด้านทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อจะได้ทราบความต้องการทางการเงินที่แท้จริง เริ่มจาก…

ขั้นที่ 1 ประมาณความต้องการทางการเงินที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง

ต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายและภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด ได้แก่ รายได้สำหรับครอบครัว ภาระหนี้สิน การศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล เงินฉุกเฉิน ความทุพพลภาพ การชดเชยรายได้ รวมทั้งความคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล

ขั้นที่ 2 ประมาณการรายได้และทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดที่มี

เช่น เงินออม เงินลงทุน ดอกเบี้ย ผลตอบแทนผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งสินทรัพย์ที่มีมูลค่าทั้งหมดโดยระยะเวลาในการประมาณการรายจ่ายและรายได้ต้องสอดคล้องกัน

ขั้นที่ 3 คำนวณทุนประกัน

หลังจากรวบรวมข้อมูลรายจ่ายและรายได้เรียบร้อยแล้ว ให้คำนวณทุนประกันที่เหมาะสมได้จากสูตร…

จำนวนเงินทุนประกัน = รายจ่ายจำเป็นทั้งหมด(ที่ได้จากขั้นที่ 1) – รายรับทั้งหมด(ที่ได้จากขั้นที่ 2)

หลักสำคัญที่ทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว คือ “ให้ทำแบบพอดี” ไม่ใช่ทำด้วยทุนประกันเยอะๆ แล้วต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละมากๆ จนต้องล้มเลิกกลางคัน สัดส่วนของค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายต่อเดือน/ปี นั้นไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ประจำต่อเดือน/ปี นะครับ

C.      จัดการประกันชีวิตอย่างไรในช่วง “เงินช็อต” ??

ในชีวิตคุณอาจมีบางช่วงที่เงินช็อตกะทันหัน หรือดวงตก ไม่มีงาน ไม่มีเงิน จากที่เคยใช้เงินมือเติบกลับต้องเขียมแบบสุดๆ อะไรตัดได้เป็นตัด พอเห็นบิลเรียกเก็บค่าประกันเข้าอีกหนึ่งรายการ… ลมแทบจับ

ตัดใจโยนกรมธรรม์ที่จ่ายเบี้ยเป็นเงินแสนทิ้งไปดีกว่าอดตาย หรือยอมกัดฟัน จ่ายอีกงวด พร้อมคิดในใจว่าคงไม่ตกงานไปทั้งชาติหรอกน่า!!!

ถ้าเข้าตาจนอย่างนี้… ไม่ต้องคิดมาก แค่คุณเดินเข้าไปหาตัวแทนประกันของคุณ ให้เขาจัดการ กู้เงิน” จากมูลค่าเงินสดในกรรมธรรม์มาจ่ายค่าเบี้ย ซึ่งมูลค่าเงินสด จะเกิดขึ้นเมื่อคุณส่งเบี้ย 2 ปีขึ้นไป ยิ่งคุณส่งเบี้ยมาแล้วหลายปีจะมีมูลค่าเงินมากขึ้น อาจจะพอให้คุณกู้จ่ายค่าเบี้ยเอาตัวรอดไปได้สักปี หรืออาจจะมีแค่ส่วนต่างเล็กน้อยที่คุณต้องโปะเพิ่มบางส่วน หลังจากนั้นเมื่อมีรายได้คุณค่อยไปจ่ายเงินกู้ค่าเบี้ยพร้อมดอกเบี้ยอีกประมาณ 8% เท่านี้กรมธรรม์ของคุณก็ไม่ขาดอายุ

D.      ประกันสุขภาพ… ซื้อที่ “ส่วนเกิน” ??

เมื่อซื้อประกันชีวิตหลักไว้เรียบร้อยแล้ว จะเป็นการดีหากคุณพ่วงประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือฆาตกรรม เข้าไปด้วย เพราะไม่ว่าคุณจะแข็งแรงปานใด แต่ก็ไม่สามารถแน่ใจได้หรอกว่าสักวันหนึ่งคุณจะไม่ล้มหมอนนอนเสื่อหรือนอ หยอดน้ำข้าวต้มในโรงพยาบาล ยิ่งเดี๋ยวนี้ค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา แพงอย่าบอกใคร หากไม่อยากเปลี่ยนให้ฐานะ จนลงเพราะค่ารักษาพยาบาล ก็ควรมีประกันสุขภาพอย่างน้อยสักฉบับก็ยังดี

แต่การเลือกซื้อประกันสุขภาพ คุณควรซื้อแค่ “ส่วนเกิน” ของสวัสดิการประกันสังคม และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เจ้านายคุณจ่ายเท่านั้น เพราะประกันสุขภาพ เป็นการจ่ายเบี้ย “แบบทิ้งเปล่า” ปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่เจ็บไข้ได้ป่วยต้องหามส่งโรงพยาบาล ก็อย่าหวังจะได้แอ้ม

เวลาซื้อประกันสุขภาพมี 2 ตัวที่ต้องคำนึงถึง คือ “ค่ารักษาพยาบาล”กับ “ค่าห้อง” ถ้าคุณพอใจจะมีเพื่อนคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ คุณก็ไม่จำเป็นต้องเสียสตางค์ซื้อประกันสุขภาพเพิ่ม แต่ถ้าห้องรวมมันแออัดเหลือเกิน คุณก็ต้องยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกนิดเพื่ออัพเกรดสิทธิเป็นห้องเดี่ยวในโรงพยาบาล

แต่โปรดรู้ไว้… คุณไม่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพเต็ม 100% ของค่าห้องที่คุณพอใจ เอาแค่ครอบคลุมสัก 80% ก็พอส่วนที่เหลืออีก 20% ไว้ค่อยจ่ายตอนที่คุณเข้าไปนอนในโรงพยาบาลก็แล้วกัน

E.       ประกันอัคคีภัยแบบไหนดี???

คุณรู้หรือไม่… ในการทำประกันภัยบ้าน คุณควรเลือกซื้อ “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย” แทนกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยแบบธรรมดา เอ๋..!!! สงสัยละสิว่าทั้ง 2 กรมธรรม์ต่างกันอย่างไร ในเมื่อเป็นประกันอัคคีภัยเหมือนกัน

ต่างกันแน่นอน… เพราะถ้าคุณซื้อประกันอัคคีภัยธรรมดา คุณจะได้รับความคุ้มครองที่แคบกว่า เฉพาะไฟไหม้ ฟ้าผ่า และแก๊สระเบิดเพียง 3 ภัย แต่หากคุณซื้อกรมธรรม์ประกัน อัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย คุณจะได้ความคุ้มครองครอบคลุมถึง 6 ภัย อันได้แก่

  1. ภัยจากไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่ ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่าการระเบิดทุกชนิด
  2. ภัยจากการชนโดยยานพาหนะ รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
  3. ภัยจากการชนหรือตกใส่จากอากาศยาน เครื่องบิน จรวด เฮลิคอปเตอร์ อากาศยานทุกชนิด
  4. ภัยจากน้ำ เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อย รั่วไหล ล้นจากท่อน้ำ ถังน้ำ แต่ไม่รวมถึงน้ำท่วม และท่อประปาที่แตกนอกตัวบ้าน
อ่านมาถึงตรงนี้ผมว่าทุกคนคงจะเห็นภาพมาพขึ้นแล้วว่าตัวเองจะทำยังไงดีกับเรื่องการทำประกัน การทำประกันไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่ผมว่าเราต้องรู้จักความต้องการของตัวเองให้ดี ซึ่งถ้ารู้แล้วต่อให้พนักงานขายประกันที่ไหนจะมาหว่านล้อมเรายังก็คงไม่ทำให้เราหลวมตัวหลวมใจตามคำเชิญชวนของเขาหรอก จริงมั้ยครับ..
ที่มาของข้อมูลส่วนใหญ่ในเรื่องการ Out source ความเสี่ยงนี้ได้คัดลอกมาจาก ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน